ปั้น ทูล ทองใจ ของ เบญจมินทร์

นอกจากเพลงรำวงสนุกสนานแล้ว ยังประพันธ์เพลงช้า หรือเพลงหวานได้ในระดับดีเยี่ยม ในช่วงปี พ.ศ. 2499 - 2500 เป็นผู้สร้าง ทูล ทองใจ จนมีชื่อโด่งดังทั่วฟ้าเมืองไทยจากเพลงช้าของเขาหลายเพลง เช่น "โปรดเถิดดวงใจ", "กลิ่นปรางนางหอม", "ในฝัน" และ "เหนือฝัน"

และด้วยความทรนง อันเป็นนิสัยสำคัญของเขา เมื่อความนิยมในผลงานเพลงของเขาสู้กับนักร้องรุ่นใหม่อย่าง สุรพล สมบัติเจริญไม่ได้ รวมทั้งเกิดกรณีการแต่งเพลงตอบโต้กัน โดยเบญจมินทร์ เขียนเพลง "อย่าเถียงกันเลย" ต่อว่าสุรพลกรณีที่ร้องเพลงตำหนิ ผ่องศรี วรนุช ที่ลาออกจากวงไป และสุรพล ก็แต่งเพลงตอบโต้เขาชื่อ " ิบนิ้วขอขมา" ซึ่งเสียงตอบรับของแฟนเพลงก็หันไปทางสุรพลมากกว่า ดังนั้น เบญจมินทร์ ก็จึงยกกิจการวงดนตรี "เบญจมินทร์และสหาย" ที่เพิ่งตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2507 ให้แก่ลูกศิษย์รักคนที่สอง กุศล กมลสิงห์ เจ้าของฉายา ขุนพลเพลงรำวง และหันหลังให้กับวงการเพลงทันทีโดยไม่แยแส ในปี พ.ศ. 2508 ก่อนจะหันไปจับงานบันเทิงสาขาใหม่